หลวงพ่อกล่อม พรมสโร

วัดป่ากะพี้ อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ


วิหารหลวงพ่อกล่อม ณ วัดป่ากะพี้

ประวัติ

               หลวงพ่อกล่อม เกิดราวปี พ.ศ.2400 ณ หมู่บ้านป่ากะพี้ หมู่ที่ 4 ต.ท่ามะเฟือง อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ เป็นบุตรของพ่อชื่น

กับคุณแม่ไผ่ คำชื่น มีพี่น้องร่วมบิดามารดาด้วยกัน 1 คน คือหลวงพ่อกล่อม และนายรอด คำชื่น น้องชาย

               ในวัยเด็กครอบครัวฐานะยากจน บิดามารดามักให้ไปเลี้ยงควายเป็นประจำทุกวัน เพราะไม่ได้เรียนหนังสือ

ดังนั้นหลวงพ่อกล่อมจึงได้ชักชวนน้องชาย ชื่อนายรอด พากันหนีออกจากบ้านหวังไปผจญโลกข้างหน้า

                หลังจากหนีออกจากบ้าน หลวงพ่อกล่อมกับน้องชาย ได้ไปพบกับพระธุดงค์ 2 รูป โดยบังเอิญ รูปหนึ่งชื่อว่าพระครุฑ อีกรูปชื่อ

พระเมฆ ซึ่งกำลังเดินทางไปทางใต้โดยล่องแพไปตามลำน้ำน่าน หลวงพ่อกล่อมและน้องชาย จึงได้ขออาศัยลงแพร่วมเดินทางไปด้วย

เดินกันกันไปจนถึงเมืองบางกอก พระธุดงค์ทั้งสองรูปได้พาหลวงพ่อกล่อมกับน้องชายไปฝากไว้วัดอนงคาราม เขตคลองสาน

(ปัจจุบันชื่อว่า วัดอนงคารามวรวิหาร) ในอดีตนั้นมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอยู่วัดนี้ คือ หลวงพ่อทับ เจ้าตำรับพระปิดตาที่โด่งดังที่สุด

มีลูกศิษย์มากมาย หนึ่งในนั้นก็คือ หลวงพ่อกล่อม นี้เอง

                หลังจากนั้นก็ได้เริ่มบวชเรียนเป็นสามเณร เล่าเรียนหนังสืออยู่ที่วัดอนงคารามวรวิหาร มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรมอย่าง

จริงจัง ศึกษาตำรับตำราอย่างถ่องแท้แล้วนั้น ท่านจึงได้เดินทางกลับมายังบ้านเกิด โดยแรกเริ่มนั้นหลวงพ่อได้มาจำวัดอยู่ที่วัดบึงท่าช้าง

(ปัจจุบันเป็นวัดร้าง) อยู่ในเขตบ้านหัวบึง หมู่ที่ 1 ต.พญาแมน อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ ขณะที่จำวัดอยู่ที่วัดบึงท่าช้าง ตอนเช้าออกบิณฑบาต

ก็ออกเดินทางไปทางบ้านหัวบึงบ้าง บ้านท่ามะปรางบ้าง บางวันก็ไปบ้านป่ากะพี้บ้างซึ่งแต่ละที่มีระยะทางไกลมาก การเดินทางก็ยาก

ลำบากมีแต่ป่าไม้รกทึบสองข้างทาง และบางวันออกบิณฑบาตมาทางบ้านป่ากะพี้ซึ่งมีระยะทางไกลมากจนไม่สามารถกลับไปฉันอาหาร

เช้าได้ทัน จำเป็นต้องแวะฉันอาหารเช้าที่วัดป่ากะพี้แทนเป็นอย่างนี้แทบทุกวัน จนชาวบ้านป่ากะพี้เห็นท่านเหน็ดเหนื่อยมากต่อการที่

ต้องออกบิณฑบาตเป็นระยะทางไกลๆ จึงพากันเกณฑ์ชาวบ้านช่วยกันทำที่พักให้ใกล้กับต้นจันทร์สามง่ามซึ่งอยู่ใกล้กับหมู่บ้านป่ากะพี้

โดยมีตาไกร(ไม่ทราบนาสกุล) เป็นผู้นำชาวบ้านช่วยกันสร้างที่พักรูปทรงคล้ายกับโรงเก็บยาสูบในสมัยก่อน เมื่อท่านได้มีที่พักแล้ว

ต่อมาจึงไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยออกเดินทางบิณฑบาตในระยะทางไกล ๆ อีก จนต่อมาที่พักดังกล่าวได้กลายมาเป็นวัดป่ากะพี้มาจนถึงทุก

วันนี้

              อนึ่งหลวงพ่อกล่อม ได้มรณะภาพลงในอุโบสถของวัดด้วยอาการสงบ ราวประมาณ ปี พ.ศ. 2488 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

 สงบลงได้ไม่นานนัก

วัตถุมงคลของหลวงพ่อกล่อม วัดป่ากะพี้

               หลวงพ่อกล่อมได้สร้าง พระภควัมบดีหรือพระปิดตา จากข้อมูลพบว่าหลวงพ่อกล่อมท่านแกะพิมพ์พระด้วยตนเอง

วัสดุที่นำมาทำเป็นแม่พิมพ์ก็คือ หินฝนมีดมีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้า และอีกแม่พิมพ์นึงแกะจากไม้เป็นแผงรูปห้าเหลี่ยมหน้าจั่ว

ในแผงมีพระปิดตาพิมพ์เดียวกัน จำนวน 25 องค์ ในอดีตทางวัดได้เก็บรักษาไว้แต่ต่อมามีผู้ไม่ประสงค์ดีนำแม่พิมพ์ไป(สันนิษฐานว่า

หายไปจากวัดเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2512)

มวลสารที่นำมาสร้างพระปิดตา

              ได้แก่ ครั่งพุทรา ซึ่งมีชาวบ้านเก็บมาให้ท่าน นำมาตำผสมผง ต่อมานายโพธิ์ชาวบ้านหัวบึงซึ่งอยู่หมู่บ้านติดบ้านป่ากะพี้

เป็นผู้หนึ่งที่ใกล้ชิดกับหลวงพ่อและมีภรรยาเป็นชาวลำปาง ได้จัดหารักจากจังหวัดลำปางส่งมาให้หลวงพ่อทำพระปิดตาแทนครั่งพุทรา

โดยนำมาประกอบกับส่วนผสมพุทธคุณที่หลวงพ่อทำขึ้น โดยใช้ดินสอพองเขียนสูตรมนต์คาถาลงบนกระดานชนวน ท่องมนต์คาถาแล้ว

ลบเอาผงดินสอพองเก็บไว้ ทำเป็นประจำจนได้ผงพอสมควรแล้ว จึงนำมวลสารต่าง ๆ ตามตำรามาผสมรวมกัน

การกดพิมพ์

                หลวงพ่อท่านจะกดพิมพ์เฉพาะวันพระเท่านั้น โดยกดทีละองค์จนหมดผงที่ผสมไว้ จากนั้นนำไปผึ่งให้แห้ง นำมาทำพิธีปลุก

เสกโดยท่านจะใช้วิธีปลุกเสกเดี่ยวในอุโบสถตลอดระยะเวลา 3 เดือน

สีของเนื้อพระ

               พระส่วนใหญ่มีเนื้อสีไม่คงที่ มีทั้งดำสนิท น้ำตาลออกแดง(กะลา) เขียว(ก้านมะลิ) และบางองค์ออกขาว ทั้งนี้สมัยก่อนบ้าน

ป่ากะพี้ทุรกันดารมาก การเดินทางต้องใช้เกวียน ทำให้การส่งรักจากลำปางมีความล่าช้าจึงขาดแคลนในบางช่วงทำให้หลวงพ่อจำเป็น

ต้องใช้น้ำล้างรักที่ผสมเหลือแทนบ้าง บางทีก็ไม่มีทั้งรักทั้งครั่งพุทราก็ต้องใช้ผงล้วน ๆ ทำให้สีของเนื้อพระแตกต่างกัน และจำนวนที่

สร้างไม่อาจระบุจำนวนได้ เนื่องจากท่านสร้างด้วยแรงศรัทธานั่นเอง

พุทธคุณพระปิดตา

               เชื่อว่ามีอานุภาพนานับประการ ทั้งเมตตามหานิยม คงกะพัน แคล้วคลาด มีแต่สิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิตของผู้มีจิตศรัทธา

พระปิดตาที่ท่านสร้างนั้นไม่ได้นำออกมาจำหน่ายหรือให้เช่า ผู้ที่จะได้รับต้องไปขอกับท่านเอง และมักมอบให้กับพระภิกษุที่มาลาสิกขา

บท ท่านจะมอบพระปิดตาให้เพียงคนละ 1 องค์เท่านั้น และหลวงพ่อมักจะบอกกับลูกสิทธิ์ทุกคนให้หมั่นรักษาศีล