หัวข้อกระทู้ : ร่วมเปิดตำนานวัตถุมงคลครูบาอิน อินโทปฐมบทชินบัญชรล้านนา
ผู้ตั้งกระทู้ : singphusangตั้งกระทู้เมื่อ : 03 ก.พ. 56 - 20:59:09
รายละเอียด


“พระครูวรวุฒิคุณ” หรือ “หลวงปู่ครูบาอิน อินโท” หรือ “ครูบาฟ้าหลั่ง-ฟ้าลั่น” อมตะมหาเถราจารย์แห่งนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ผู้สูงยิ่งด้วยศีล จริยาวัตร และพุทธาคม เชี่ยวชาญสรรพวิชาตามตำราโบราณล้านนา จนเป็นที่ประจักษ์ทั่วไป ดังคำกล่าวของบรรดาพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่ว่า

“ขอเธอจงไปกราบครูบาอินที่เชียงใหม่และขอศึกษาวิชาจากท่านให้ดีๆ เถิด ท่านเป็นพระผู้เก่งกล้าสามารถมากจริงๆ” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร วัดโฆสิตาราม บ้านบ้านเเค ตำบลบางขุด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

“ดีอยู่แล้ว ดีอยู่แล้ว พระของครูบาอิน ไม่ต้องเสกอะไรอีกแล้ว” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

“จิตของครูบาอิน ประภัสสรยิ่งแล้ว” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อชม วัดโป่ง จังหวัดชลบุรี

“ครูบาอิน ท่านมีจิตมีจิตบริสุทธิ์ผุดผ่องยิ่งเลยทีเดียว” เป็นคำกล่าวของครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

“หลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่งนั้น ดีที่หนึ่งเลย” เป็นคำกล่าวของหลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

“ครูบาอินท่านเป็นพระสุปฏิปันโน ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบนะ” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อดาบส สุมโน อาศรมไผ่มรกต บ้านลูกกลอน ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ฯลฯ

ความคิดเห็นที่ 1
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 03 ก.พ. 56 - 20:59:59


ร่วมศึกษา
ความคิดเห็นที่ 2
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 03 ก.พ. 56 - 21:01:48


เหรียญปลอดภัย หลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง เชียงใหม่ ๒๕๔๐
เหรียญรุ่นปลอดภัยนี้หลวงปู่ครูบาอิน ท่านเสก แล้วเสกอีก..ตลอด ๔ เดือน จนเสกไม่เข้า สุดท้ายหลวงปู่ฯ จึงได้เอ่ยขอ เหรียญรุ่นนี้จากคณะกรรมการผู้สร้าง ไว้จำนวนหนึ่ง โดยให้เหตุผลว่า "กลัวคนเจียงใหม่จะบ่ได้ใช้ของดีๆ" ลองคิดดูครับ...เหรียญ รุ่นนี้ ดี แค่ไหน
ความคิดเห็นที่ 3
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 03 ก.พ. 56 - 21:02:14


หลังยันต์หลวงพ่อกวย
ความคิดเห็นที่ 4
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 03 ก.พ. 56 - 21:04:22


พระสมเด็จหลังยันต์ฟ้าฟีก หัวใจไจยะเบงชรครับ
ฟ้าฟีก ยันต์หัวใจแห่งไชยเบงชร(ไจยะเบงจร) หรือ ชินบัญชร พระคาถาอันศักดิ์สิทธิ์ยิ่งยวด ใช้ป้องกันและเสริมความเป็นมงคลได้ทุกด้าน ยันต์ฟ้าฟีกหรือคาถาหัวใจไชยเบงชรที่ว่า "ระตะนังปุระโตอาสิ" ในวัฒนธรรมความเชื่อล้านนาเป็นคาถาที่ใช้อย่างแพร่หลาย แม้แต่ ครูบาเจ้าศรีวิไชย สิริวิชโย ต๋นบุญแห่งล้านนายังใช้เป็นยันต์ประจำตัวองค์ท่าน มีคุณด้านกันและปัดเป่าสรรพอันตรายเภทภัยต่างๆให้ออกไปจากตัวตน บ้านเรือน เมืองนคร เวลายามจะเกิดลมหลวงหรือพายุชาวบ้านชาวเมืองผู้มีวิชาจะใช้คาถานี้ในการไล่ลมฝนฟ้าให้ห่างไปจากบ้านของตน ยันต์นี้ยังทำเป็นแผ่นติดเสาเรือนเพื่อกันไฟไหม้และกันฟ้าผ่าได้ฉมังยิ่งนัก

อีกนามหนึ่งของฟ้าฟีกคือ คาถาตาลหิ้น โดยมีเรื่องเล่าว่า เจ้าหนานทิพย์ช้าง หรือ พญาสุวลฤาไชยสงคราม ต้นเค้าสายสกุล เจ้าเจ็ดตน อันเป็นเจ้าบ้านผ่านเมืองครองหัวเมืองล้านนาเป็นเจ้าหลวงเจ้าชีวิตสืบมา ท่านได้คาถานี้มาจากครูบาอาจารย์เป็นคาถา 8 คำคือ ระตะนัง ปุระโต อาสิ เมื่อเจ้าหนานท่องจนมั่นใจแล้วท่านจึงคิดลองให้ทหารเอาปืนมาจ่ออยู่ใต้ต้นตาลให้มากที่สุด แล้วเจ้าหนานปีนไปอยู่บนตาลให้เหล่าทหารยิงจนยอดตาลด้วนเหี้ยนเตียนหมด แต่ท่านก็ไม่เป็นไร คาถานี้จึงชื่อว่าตาลหื้น มีพุทธคุณทางด้านแคล้วคลาดปลอดภัย ปัดเป่าป้องกันเภทภัยอนันตรายต่างๆ ครูบาทางเหนือใช้อย่างแพร่หลายและขึ้นชื่อในประสบการณ์

ก็ในเมื่อยุคนี้เป็นกลียุคใกล้ถึงคราวเกิดเภทภัยใหญ่ขึ้น การมีพระกริ่งอันเป็นพระเครื่องชั้นสูงที่สร้างด้วยตำราไชยเบงชรหรือชินบัญชร บรรยุพระคาถายันต์ฟ้าฟีกหรือตาลหิ้นไว้ที่องค์พระ หล่อหลอมด้วยชนวนมวลสารชั้นสูงสุดขลัง ย่อมสามารถเป็นเครื่องป้องกันปกห่มบ่มเกล้ายามเกิดภัยได้ด้วยอำนาจแห่งพระพุทธคุณ
ความคิดเห็นที่ 5
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 03 ก.พ. 56 - 21:05:07


เพื่อศึกษาครับ
ความคิดเห็นที่ 6
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 03 ก.พ. 56 - 21:07:09


ล็อกเก็ตเมตตามาโชว์ค่ะ สร้างน้อย ๑๙๙ องค์ ฉลองอายุมหาวัฒนมงคล ๙๙ ปี
ความคิดเห็นที่ 7
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 03 ก.พ. 56 - 21:07:45


เชิญร่วมศึกษาครับ
ความคิดเห็นที่ 8
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 03 ก.พ. 56 - 21:13:51


รวมชุดเหรียญครับ
ความคิดเห็นที่ 9
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 04 ก.พ. 56 - 09:00:28


เหรียญไจยะเบงชรเนื้อทองเเดงสร้างน้อยครับ
ความคิดเห็นที่ 10
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 04 ก.พ. 56 - 09:01:04


ด้านหลังเหรียญ
ความคิดเห็นที่ 11
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 04 ก.พ. 56 - 09:02:47


เนื้อนวะราคาสูงมาก ราคาเช่าหาปัจจุบันประมาณ10,000-15,000 บาทครับ (เพื่อการศึกษา)
ความคิดเห็นที่ 12
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 04 ก.พ. 56 - 09:03:10


เนื้อนวะราคาสูงมาก ราคาเช่าหาปัจจุบันประมาณ10,000-15,000 บาทครับ (เพื่อการศึกษา)
ความคิดเห็นที่ 13
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 04 ก.พ. 56 - 09:05:48


เหรียยไจยเบงชรเนื้อเงิน สร้างน้อย ราคาเช่าหาปัจจุบัน 40,000-50,000 บาทครับ (เพื่อการศึกษา)
ความคิดเห็นที่ 14
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 04 ก.พ. 56 - 09:06:07


เหรียญไจยเบงชรเนื้อเงิน สร้างน้อย ราคาเช่าหาปัจจุบัน 40,000-50,000 บาทครับ (เพื่อการศึกษา)
ความคิดเห็นที่ 15
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 04 ก.พ. 56 - 09:06:29


(เพื่อการศึกษา)
ความคิดเห็นที่ 16
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 04 ก.พ. 56 - 09:07:49


วัตถุมงคล
ความคิดเห็นที่ 17
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 04 ก.พ. 56 - 09:08:16


วัตถุมงคล
ความคิดเห็นที่ 18
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 04 ก.พ. 56 - 09:08:49


เหรียญบสาตรน้ำมนต์
ความคิดเห็นที่ 19
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 04 ก.พ. 56 - 09:10:27


เหรียญบาตรน้ำมนต์เนื้อทองจังโก๋ เสกพญาวัน
ความคิดเห็นที่ 20
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 04 ก.พ. 56 - 09:10:42


เหรียญบาตรน้ำมนต์เนื้อทองจังโก๋ เสกพญาวัน
ความคิดเห็นที่ 21
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 04 ก.พ. 56 - 09:11:44


ปรกพระรอดมหาวันองค์หน้อย(เนื้อทองจังโก๋.) รุ่นไจยะเบงชร(ปฐมชินบัญชรล้านนา.) ครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง จ.เชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๔๕

ปรกพระรอดมหาวันองค์หน้อย(เนื้อทองจังโก๋.) รุ่นไจยะเบงชร(ปฐมชินบัญชรล้านนา.) "ครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง จ.เชียงใหม่" ที่ระลึกเจริญอายุครบ ๑๐๐ ปี พ.ศ.๒๕๔๕ ขนาดกระทัดรัด(ความสูงประมาณ ๑.๔ ซม.)มีตอกโค๊ตกำกับ ออกแบบสวยงาม สภาพฟอร์มสวย

----------
"ทองพระธาตุจังโก๋ นักษัตร" : เป็นชนวนโลหะพิเศษที่นับได้ว่ามีความสำคัญและความเป็นมหาศิริมงคลอย่าง ยิ่งยวดยากจะหาใดเสมอเหมือนได้ “ทองจังโก๋ นักษัตร” เป็นแผ่นโลหะสำหรับหุ้มพระธาตุเจดีย์ทางภาคเหนือ ที่ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนาไทย ซึ่งนับเป็นมหาบูรพาจารย์ ผู้สืบทอดใน “ไจยะเบงชร” หรือชินบัญชรล้านนา ต้นตำหรับล้านนาโบราณองค์สำคัญที่สุดองค์หนึ่ง ที่น้อยคนนักจักล่วงรู้ ได้ลงมือจำหลัก (จาร) อักขระเป็น “ตั๋วเมือง” พร้อมอธิษฐานจิตไว้ด้วยองค์เอง ณ. วัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน เมื่อครั้งที่ท่านยังดำรงขันธ์อยู่ มวลสารนี้ร่วมเททองในการสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ และวัตถุมงคลเนื้อทองจังโก๋ ชุด “ไจยะเบงชร” ทุกรายการโดยได้รับการอนุเคราะห์จาก หนานขวัญ วิชยุทธ พุทธิรินโน ศิษย์ครูบาคำปัน วัดหม้อคำตวง จังหวัดเชียงใหม่ สายครูบาเจ้าศรีวิชัย กรุณามอบให้ ซึ่งนับเป็นมหาสิริมงคล แก่จิตใจแห่งศรัทธาของผู้ได้ไว้สักการะบูชากราบไหว้อย่างไม่มีที่เปรียบได้ อย่างแท้จริง...

วัดคันธาวาส (วัดทุ่งปุย) เป็นวัดเก่าที่หลวงปู่เคยจำพรรษา ก่อนที่จะได้รับนิมนต์ไปสร้างโรงเรียนฟ้าหลั่งและบูรณะวัดฟ้าหลั่ง จนทำให้หลวงปู่ต้องอยู่เป็นสมภารเจ้าวัดฟ้าหลั่งอยู่เป็นเวลากว่า ๔๐ ปี จนกระทั่งท่านได้กลับมาวัดทุ่งปุย เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๓ (วันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๗ เหนือ) ชื่อวัดทุ่งปุยนี้เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกขานมาเป็นเวลาช้านาน ก่อนที่หลวงปู่ครูบาอินจะเปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดคันธาวาส” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ครูบาคันธาผู้บูรณะวัดทุ่งปุยในอดีต วัดคันธาวาส ตั้งอยู่ที่ “ต.สันติสุข กิ่ง อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่
ความคิดเห็นที่ 22
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 04 ก.พ. 56 - 09:12:07


ศึกษาก่อนสะสม
ความคิดเห็นที่ 23
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 04 ก.พ. 56 - 09:13:51


เหรียญไจยเบงชรเนื้อตะกั่วหายากมากๆๆ
ความคิดเห็นที่ 24
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 04 ก.พ. 56 - 09:14:25


เหรียญไจยเบงชรเนื้อตะกั่วหายากมากๆ
ความคิดเห็นที่ 25
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 04 ก.พ. 56 - 09:17:02


วัตถุมงคลรุ่นไจยะเบงชร เป็นวัตถุมงคลรุ่นหลักของหลวงปู่ครูบาอิน ซึ่งสร้างในโอกาสอายุครบ 100 ปี มีพิธีใหญ่ปลุกเสกโดยเกจิมากมาย และหลวงปู่ครูบาอินเสกให้อย่างเต็มที่ โดยมีรายละเอียดดังนี้

วัตถุมงคลรุ่นไจยะเบงชร
วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง :::

๑. เพื่อเป็นการอนุรักษ์ สืบทอด เผยแผ่ประวัติความเป็นมาและอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ แห่งอักขระมหายันต์ และพระมหาคาถาไจยะเบงชร (ชินบัญชรล้านนา) ให้ปรากฏเกียรติคุณและศักดิ์ศรีความเป็นอันดับหนึ่งที่แรกสุดของประเทศไทย ภายหน้ามิให้ถูกปกปิด หรือเลือนหายไปจากความรู้สึกนึกคิดของสาธารณชนอย่างที่เคยเป็นมาตลอดไป

๒. เพื่อเป็นจุลอุทเทสิกเจดีย์ สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา ตามคติโบราณนิยม

๓. เพื่อเป็นมหามงคลอนุสรณ์ เจริญอายุวัฒน์หนึ่งศตวรรษ (๑๐๐ ปี) ของหลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท

๔. เพื่อสมทบทุนสร้างพระพุทธปฏิมากร กุฏิ เสนาสนะสงฆ์และถาวรวัตถุ วัดคันธาวาส (ทุ่งปุย) กิ่ง อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ สถานที่จำพรรษาของหลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท

๕. เพื่อสาธารณกุศลต่างๆ



มวลสารสำคัญ

ด้วยเดชะบุญญาบารมีแห่งพระพุทธปริตรคาถา “ไจยะเบงชร” (ชินบัญชรล้านนา) ต้นตำหรับแรกสุดแห่งสยามประเทศ ซึ่งทรงกฤษฎาภินิหารอย่างยิ่งยวดและทรงคุณค่าอย่างพิเศษสุด ในอันที่จะได้สำเร็จเป็นพุทธานุสารณียวัตถุ ที่พึ่งพากราบไหว้สาสักการะแห่งมวลหมู่พุทธศาสนิกชนทั่วทั้งแผ่นดินไปสืบชั่วกัลปาวสาน นอกจากนี้ยังมีการจารอักขระมหายันต์ “ไจยะเบงชร” ทั้งแบบย่อและแบบพิสดาร

ทองพระธาตุจังโก๋ นักษัตร เป็นชนวนโลหะพิเศษที่นับได้ว่ามีความสำคัญและความเป็นมหาศิริมงคลอย่างยิ่งยวดยากจะหาใดเสมอเหมือนได้ “ทองจังโก๋ นักษัตร” เป็นแผ่นโลหะสำหรับหุ้มพระธาตุเจดีย์ทางภาคเหนือ ที่ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนาไทย ซึ่งนับเป็นมหาบูรพาจารย์ ผู้สืบทอดใน “ไจยะเบงชร” หรือชินบัญชรล้านนา ต้นตำหรับล้านนาโบราณองค์สำคัญที่สุดองค์หนึ่ง ที่น้อยคนนักจักล่วงรู้ ได้ลงมือจำหลัก (จาร) อักขระเป็น “ตั๋วเมือง” พร้อมอธิษฐานจิตไว้ด้วยองค์เอง ณ. วัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน เมื่อครั้งที่ท่านยังดำรงขันธ์อยู่เมื่อกว่า ๖ ทศวรรษที่แล้ว มวลสารนี้ร่วมเททองในการสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ และวัตถุมงคลเนื้อทองจังโก๋ ชุด “ไจยะเบงชร” ทุกรายการโดยได้รับการอนุเคราะห์จาก หนานขวัญ วิชยุทธ พุทธิรินโน ศิษย์ครูบาคำปัน วัดหม้อคำตวง จังหวัดเชียงใหม่ สายครูบาเจ้าศรีวิชัย กรุณามอบให้ ซึ่งนับเป็นมหาสิริมงคล แก่จิตใจแห่งศรัทธาของผู้ได้ไว้สักการะบูชากราบไหว้อย่างไม่มีที่เปรียบได้อย่างแท้จริง

นอกจากนี้ยังมีอักขระเลขยันต์แบบล้านนา ๑๐๘ พร้อมดวงประสูติ ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทองคำแท่งหนัก ๒๐ บาท สำหรับหล่อพระกริ่งเนื้อนวะโลหะพิเศษ (แก่ทอง) ชนวนเหรียญเก่า พระกริ่งแหวน และโลหะมงคลอื่นๆ อีกหลายรายการ

พิธีพุทธาภิเศก

วัตถุมงคลรุ่นไจยะเบงชร ผ่านการปลุกเสก ๕ ครั้ง ดังต่อไปนี้
ครั้งที่ ๑: วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ เวลา ๙:๓๙ น. - ในพิธีอธิษฐานจิตเทชนวนพระกริ่ง

ครั้งที่ ๒: วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ - ในวันประกอบพิธีเททองหล่อพระกริ่งและพระชัยวัฒน์

(ในงานวันนี้มีการแจกพระสมเด็จไจยะเบงชร)

ครั้งที่ ๓: วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ - หลวงปู่ครูบาอิน อินฺโทอธิษฐานจิตเดี่ยว

เป็นวันเสาร์ ๕ ใหญ่ เป็นเวลา ๑ ชั่วโมงเต็ม

รายการพิเศษ: พระรอดหลวง (สีดำ) ไจยะเบงชร ทางนิตยสารพุทธคุณโดยคุณเนาว์ นรญาณ

จัดทำขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อมอบแก่สมาชิกและผู้ซื้อนิตยสารพุทธคุณ

อธิษฐานจิตเดี่ยวโดยหลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ สองครั้ง

โดยครั้งแรก ตั้งแต่เวลา ๑๑.๓๙ - ๑๓.๔๕ น. และครั้งที่สองระหว่างเวลา ๑๗.๑๙ - ๑๘.๔๕ น.

ครั้งที่ ๔: วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ - อธิษฐานจิตในพิธีสืบชะตาหลวงมหามงคล ฉลองยุตม์หนึ่งศตวรรษ

(ในงานวันนี้มีการแจกพระปิดตา และ พระหลวงพ่อเงินเนื้อไม้พยุง และ พระผงฤาษีวาสุเทพ))

ครั้งที่ ๕: วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ - อธิษฐานจิตเดี่ยวครั้งสุดท้าย วันมาฆปุณณมีบูชา

หมายเหตุ

เนื่องจากวัตถุมงคลชุดนี้มีการปลุกเสกหลายครั้ง และคาบเกี่ยวกับช่วงเวลาที่มีการจัดสร้างและการปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่น “ไจยะเบงชร-พญาวัน-วิสาขะบูชา” จึงมักจะเห็นวัตถุมงคลบางชนิด (เช่นล็อคเก็ตรูปเหมือนเต็มองค์ ครึ่งองค์ และล็อคเก็ตครูบาศรีวิชัย) ถูกรวมอยู่ทั้งในรุ่น “ไจยะเบงชร” และ “ไจยะเบงชร-พญาวัน-วิสาขะบูชา” เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน จึงขอแยกวัตถุมงคลที่ซ้ำไปไว้ในรุ่น “ไจยะเบงชร-พญาวัน-วิสาขะบูชา” เพียงแห่งเดียว

พระสมเด็จไจยะเบงชร เนื้อผงเกสร ๑๐๘ และมวลสารหลากหลาย ปลุกเสกเดี่ยวโดยหลวงปู่ครูบาอิน แจกในพิธีเททองเฉพาะกรรมการ (ไม่มีให้บูชา-หมดแล้ว) วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ เป็นแบบไม่โรยผงตะไบพระกริ่ง

พระปิดตามวลสารไม้พยุง ก้นอุดเกศาและชนวนพระกริ่ง และพระหลวงพ่อเงินมวลสารไม้พยุง แจกในงานฉลองอายุ หนึ่งศตวรรษ (ไม่มีให้บูชา) วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕

ข้อมูลอ้างอิงจากเวบ วรวุฒิคุณอนุสรณ์ ครับผม

http://krubain.awardspace.com/amulets_jaiyabengjorn.htm
ความคิดเห็นที่ 26
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 04 ก.พ. 56 - 09:17:20


สร้างน้อย
ความคิดเห็นที่ 27
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 04 ก.พ. 56 - 09:17:45


เพื่อการศึกษานะครับ
ความคิดเห็นที่ 28
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 04 ก.พ. 56 - 10:48:18


หลวงพ่อกวยยกย่อง

แต่ก่อนร่อนชะไรนั้น หากเอ่ยชื่อถึง “หลวงปู่ครูบาอิน อินโท แห่งวัดฟ้าหลั่ง เชียงใหม่” ให้หลายๆ คนได้ยินได้ฟังแล้ว หลายๆ คนก็อาจจะทำหน้าปั้นยาก พลางอมยิ้มส่ายหน้าสารภาพว่า “ผม/ดิฉันไม่รู้จักคับ/ค่ะ” อย่างไม่ต้องสงสัย

เพราะในเขตล้านนาภาคเหนือของสยามประเทศนั้น หากไม่นับครูบาเจ้าศรีวิไชย นักบุญแห่งล้านนาไทยผู้กระเดื่องเลื่องหล้าองค์นั้นแล้ว พระสายเหนือที่จะมักคุ้นตาและใจของ “ส่วนกลาง” จริงๆ ก็เห็นจะมีเพียงไม่กี่องค์ อาทิ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่, หลวงปู่หล้า ตาทิพย์ วัดป่าตึงเชียงใหม่, ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน, หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร สำนักถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่, หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง ฯลฯ แต่เพียงประมาณเท่านั้น

แต่นั่น...ก็เป็นเรื่องของ “สามัญปุถุชน” แต่เพียงเท่านั้น หาใช่เป็นกรณีของ “ผู้รู้แจ้ง” เห็นจริงไม่ เพราะเมื่อหลายสิบปีก่อน หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สุดยอดพระเกจิอาจารย์ผู้ชาญพระเวทย์แห่งวัดโฆสิตาราม ชัยนาท ยังไม่อาจนิ่งเฉยพร้อมกับยังได้สั่งความแก่พระครูสมุห์ภาสน์ มังคลสังโฆ แห่งวัดซับลำไย ลพบุรี ศิษย์ใกล้ชิดของท่านรูปหนึ่งเลยทีเดียวว่า “ให้ขึ้นไปกราบครูบาอิน วัดฟ้าหลั่งที่เชียงใหม่ และขอศึกษาวิชาจากท่านให้ดีๆ เถิด ครูบาอินนี้ท่านมีวิชาจิตตานุภาพแก่กล้าสามารถมากๆ จริงๆ...!!!!!!”

ลองหลวงพ่อกวย สั่งการด้วยองค์เองเห็นปานนี้ ยังจะมีใครต้องพักสงสัยกันได้อยู่อีกเล่า...

และเมื่อท่านพระครูสมุห์ภาสน์เดินทางขึ้นเหนือไปยังจังหวัดเชียงใหม่ และในก้าวแรกที่ได้ย่างเข้าสู่อาณาบริเวณวัดฟ้าหลั่ง ท่านพระครูสมุห์ภาสน์ ศิษย์หลวงพ่อกวย ก็ได้ “เจอดี” ทันที เมื่อมีภิกษุรูปหนึ่งออกมาคอยรับอยู่ที่หน้าวัดฟ้าหลั่ง ก่อนที่จะได้กล่าวสัมโมทนียกถาอย่างชวนให้สะท้านใจไม่น้อยเลยว่า

“นมัสการเชิญครับ...ท่านครูบาอินท่านว่าจะมีพระจากแดนไกลมาหา เลยสั่งให้ผมมาคอยรับท่านขอรับ...”

“...!!!!??!!!!...”

เพิ่งเหยียบเข้าวัดฟ้าหลั่งเพียงไม่กี่ก้าว และยังไม่ทันเห็นหน้ากันแม้แต่เพียงวิบเดียว แต่ “ครูบาอิน” ท่านกลับล่วงรู้หมดสิ้นแล้ว

ช่าง “เก่งแท้” สมกับที่หลวงพ่อกวยสั่งให้มา “ต่อวิชา” ด้วย ไม่ผิดเลยแม้แต่เพียงครึ่งคำเดียว...สุดยอดเลยจริงๆ
ความคิดเห็นที่ 29
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 04 ก.พ. 56 - 10:48:44


หลวงพ่อเกษม ยอมรับ

ครั้งหนึ่ง มี “พ่ออุ๊ย” แห่งวัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน ท่านหนึ่ง ได้ไปกราบหลวงพ่อเกษม เขมโก ที่สุสานไตรลักษณ์ แห่งจังหวัดลำปาง แล้วเอาพระที่ตนมีอยู่ออกมาให้หลวงพ่อเกษมท่าน “ชาร์จแบ็ต” (มนต์) เพิ่มพลังให้ตามธรรมเนียมปฏิบัติที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายมักนิยมทำกัน เวลาได้ไปกราบครูบาอาจารย์ที่ตนเคารพนับถือ โดยหนึ่งในพระเครื่องที่นำไปขอให้หลวงพ่อเกษมท่านเสกนั้น ก็มีพระของหลวงปู่ครูบาอินรวมอยู่ด้วย...

และในบัดดลนั่นเอง สิ่งที่ทำให้พ่ออุ๊ยจากเมือง “หละปูน” ถึงกับแปลกประหลาดใจอย่างใหญ่หลวง ก็พลันอุบัติขึ้น เมื่อหลวงพ่อเกษม เขมโก ผู้ยิ่งด้วยฤทธิ์อภิญญาอันแก่กล้าไม่ยอมเสกพระของ “ครูบาอิน” ให้อย่างสิ้นเชิง ก่อนที่จะบอกกับพ่ออุ๊ยนั้นอีกด้วยว่า “ดีอยู่แล้ว ดีอยู่แล้ว ไม่ต้องเสกอะไรอีกแล้ว..!!!!!!”

นี่ย่อมเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า อันอำนาจจิตฤทธิ์อภิญญาของหลวงปู่ครูบาอิน อินโทนี้ จะต้องมีความแก่กล้าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหลวงพ่อเกษมอย่างไม่ต้องสงสัย ก็ของๆ ท่าน “ดี” อยู่แล้ว “เต็ม” อยู่แล้ว เลยไม่รู้ว่าจะเสกทับให้เสียเวลาเปล่าๆ ไปทำไม น้ำเต็มตุ่มเต็มไหอยู่ดีๆ หากจะยังจะเทซ้ำลงไปอีก ก็รังแต่จะหกเรี่ยราด หาประโยชน์มิได้เท่านั้น มิสู้มิเสกเลย จะดีกว่าเป็นไหนๆ หรือมิใช่
ความคิดเห็นที่ 30
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 04 ก.พ. 56 - 10:50:04


::: เสกลำใยเป็นแมลงผึ้ง :::

อีกคราว พระเลขา (เจ้าเก่า) ที่เคยเจอประสบการณ์ “น้ำไต่” จนเปียกโชกไปทั้งตัว ก็ได้เห็นครูบาอินท่าน “ทำฤทธิ์” ให้ได้ช๊อคซีนีม่าอีกครั้งหนึ่ง โดยคราครั้งนี้ ครูบาอินท่านเอา “ลำไย” (ที่เป็นเม็ดๆ กินหวานๆ นั่นแหละครับ) มาเสกเป่างึมๆ งำๆ อย่างไม่ทราบเหตุผล ชั้นแรกนึกว่าท่านจะเสกลำไยให้ญาติโยมเอาไปกินเป็นยารักษาโรคภัย แต่ไปๆ มาๆ ที่ไหนได้...

จากลำไยธรรมดาสามัญ พอครูบาอินท่านคลายมือออกเพียงเท่านั้น จากลำไยก็กลายเป็น “แมลงผึ้ง” บินกันหึ่งๆ ให้เห็นกันจะๆ ต่อสองนัยน์ตาของพระเลขาเลยทีเดียว...!!!!!! ไม่เชื่อ ก็ต้องเชื่อแล้ว... และเชื่อแน่ได้ว่า หากหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท ที่เสกใบมะขามเป็นต่อเป็นแตนยังคงมีชีวิตอยู่ และได้มาเห็นครูบาอินเสกลำไยเป็นแมลงผึ้งได้เห็นปานนี้แล้ว คงจะต้องมีการ “แลกวิชา” กันอย่างขนานใหญ่เป็นแน่...หรือใครจะเถียงว่าไม่จริง.
ความคิดเห็นที่ 31
ผู้แสดงความคิดเห็น :
nu23du
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 12 ก.พ. 56 - 20:44:15


ผมได้มาโดยเพื่อนของพี่ชาย ขอแลกกับพระของหลวงปู่ทองดำ
ความคิดเห็นที่ 32
ผู้แสดงความคิดเห็น :
nu23du
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 12 ก.พ. 56 - 20:45:02


รบกวน ดูให้หน่อยนะครับ
ความคิดเห็นที่ 33
ผู้แสดงความคิดเห็น :
nu23du
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 12 ก.พ. 56 - 20:45:33


ด้านหลัง
ความคิดเห็นที่ 34
ผู้แสดงความคิดเห็น :
nu23du
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 12 ก.พ. 56 - 20:46:13


เหรียญ ด้านหน้า
ความคิดเห็นที่ 35
ผู้แสดงความคิดเห็น :
nu23du
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 12 ก.พ. 56 - 20:46:40


หลัง
ความคิดเห็นที่ 36
ผู้แสดงความคิดเห็น :
nu23du
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 12 ก.พ. 56 - 20:47:12


1
ความคิดเห็นที่ 37
ผู้แสดงความคิดเห็น :
nu23du
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 12 ก.พ. 56 - 20:47:37


2
ความคิดเห็นที่ 38
ผู้แสดงความคิดเห็น :
nu23du
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 12 ก.พ. 56 - 20:49:27


ขอบคุณมากครับ
ความคิดเห็นที่ 39
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 13 ก.พ. 56 - 03:58:52

พระเเท้สวยๆทั้งนั้นเลยครับ ตอนนี้เจอที่ไหนต้องรีบเก็บนะครับ
ความคิดเห็นที่ 40
ผู้แสดงความคิดเห็น :
natthapohl199
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 14 ก.พ. 56 - 15:36:19


สวัสดีครับ พี่ nu23du เป็น พระกริ่ง รุ่นวัฒนมงคล ๑๐๐ ปี
ครับ ดูดีครับพี่ สวยงามมากครับ ประวัติครับ

พระกริ่ง รุ่นวัฒนมงคล ๑๐๐ ปี
พระครูวรวุฒิคุณ หลวงปู่ครูบาอิน อินโท

ปี พ.ศ.๒๕๔๓ หลวงปู่ครูบาอิน กลับมาพำนักอยู่วัดคันธาวาส (วัดทุ่งปุย) ซึ่งเป็นวัดเดิมของท่าน หลังจากที่ได้ไปอุปถัมภ์การบูรณะวัดร้างฟ้าหลัง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๕ จนวัดฟ้าหลั่งพัฒนารุ่งเรือง สมบูรณ์พร้อมด้วยเสนาสนะต่างๆ เมื่อท่านย้ายมาอยู่วัดทุ่งปุยนั้น ก็มีลุกศิษย์ลูกหา ตามมากราบนมัสการท่านที่วัดทุ่งปุยอยู่มิได้ขาด แต่ขณะนั้น ทางวัดยังไม่มีวัตถุมงคลไดๆ แจกเป็นที่ระลึก เพราะหลวงปู่ท่านไม่ได้นำวัตถุมงคลใดๆ จากวัดฟ้าหลั่ง กลับมาที่วัดทุ่งปุยด้วยเลย ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงมีดำริ ให้พระครูสุคนธ์บุญญากร (ท่านพระครูป๋า) เจ้าอาวาสวัดทุ่งปุย ให้จัดสร้างวัตถุมงคลที่ระลึก ขึ้นมาสักชุดหนึ่ง

ท่านพระครูป๋า ได้ปรึกษากับตุ๊ตี๋หน้อย (พระอนุรักษ์ สุชีโว) วัดสันป่าข่อย ซึ่งเป็นลูกศิษย์อีกท่านหนึ่ง ได้จัดสร้างเหรียญนั่งพานขึ้นมาให้หลวงปู่ท่านแจกเป็นที่ระลึก ในระหว่างนั้น ได้มีลูกศิษย์ลูกหาจำนวนหนึ่ง ได้ถามหลวงปู่บ่อยครั้งว่าท่านได้สร้างพระกริ่งบ้างหรือไม่ อยากได้พระกริ่งของหลวงปู่ไว้บูชา ท่านก็เมตตาตอบไปว่า เคยสร้างไว้หนึ่งรุ่น โดยคณะทหารอากาศ กองบิน ๔๑ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙ เพื่อเป็นกองทุนสนับสนุนการศึกษาของลูกหลานทหารอากาศ ตอนนั้นที่วัดไม่มีแล้ว ซึ่งเมื่อมีผู้สอบถามมากขึ้น หลวงปู่จึงได้ให้พระครูป๋าจัดสร้างพระกริ่งขึ้นมาหนึ่งรุ่น โดยพระอนุรักษ์เป็นผู้ติดต่อช่างที่วัวลาย เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง เป็นพระกริ่งเนื้อทองเหลืองทั้งหมด จำนวนประมาณ หนึ่งพันองค์ รวมพระกริ่งที่เม็ดกริ่งติด (กริ่งใบ้) อีกจำนวนหนึ่ง รวมประมาณหนึ่งพันเศษ

เมื่อจัดสร้างเสร็จ ได้นำมาตอกโค้ด “อ” จากคำว่า “อิน” และโค้ตเลข “1” เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าเป็นพระกริ่งรุ่นหนึ่ง ของวัดทุ่งปุย (แต่เป็นพระกริ่งรุ่นที่ ๒ ของหลวงปู่ครูบาอิน) หลวงปู่ครูบาอินอธิษฐานจิตเดี่ยว ก่อนจะนำออกแจกจ่ายแก่ผู้มากราบนมัสการสักการะ

พระกริ่งทั้งหมดจัดสร้างแล้วเสร็จ ตอนต้นปีพ.ศ.๒๕๔๕ แต่ในระหว่างนั้น คุณเนาว์ นรญาณ และคณะ ได้มาขอเมตตาหลวงปู่จัดสร้างวัตถุมงคลรุ่น “ไจยะเบงชร” ซึ่งมีทั้งพระกริ่ง พระชัย ล็อกเกต และวัตถุมงคลอื่นๆ อีกหลายรายการ ดังนั้น แม้ว่าพระกริ่งรุ่น วัฒนมงคล ๑๐๐ ปี จะจัดสร้างขึ้นก่อน แต่ด้วยจำนวนการสร้างที่น้อยกว่า และพระกริ่งรุ่น ไจยะเบงชร มีการบอกบุญประชาสัมพันธ์ในวงกว้าง จึงเป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมมากกว่า

พระกริ่งรุ่นวัฒนมงคล จัดสร้างเพียงเนื้อเดียว จึงเล่นหาได้ง่าย แต่เนื่องจากที่องค์พระมิได้ระบุชื่อไว้ มีเพียงแต่การตอกโค้ดไว้เป็นสัญลักษณ์เท่านั้น หากพระไม่อยู่ในกล่องเดิม หรือไม่ทราบประวัติมาก่อน อาจจะไม่รู้จักได้

ความคิดเห็นที่ 41
ผู้แสดงความคิดเห็น :
nu23du
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 14 ก.พ. 56 - 19:54:47


ขอบคุณมากครับ พอดีพี่ชายทำงานอยู่เชียงใหม่ แล้วเพื่อนเขาอยากได้พระของหลวงปู่ทองดำ ผมอ่านในหนังสือพิมพ์ไทยนิวเจอหลวงปู่ครูบาอิน สร้างพระกริ่งจึงเอามาแลกกันครับตั้งแต่ปี 46 แล้วครับ เก็บไว้จนลืมมาอ่านเจอของคุณ natthapohl199 จึงไปค้นมาดูครับ อยู่อุตรดิตถ์ หรืออยู่ เชียงใหม่ ครับ ผม ชื่อ นุภพ
ทำงานอยู่ โรงแรมสีหราช ครับ 0898599072 มาเที่ยวถามหาได้ครับ
ความคิดเห็นที่ 42
ผู้แสดงความคิดเห็น :
nu23du
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 14 ก.พ. 56 - 19:57:49


ขอโทษด้วยครับ อ่านของคุณ singphusang ครับ ขอบคุณทั้งสองท่านครับ
ความคิดเห็นที่ 43
ผู้แสดงความคิดเห็น :
singphusang
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 22 ก.พ. 56 - 22:26:38


ผมมีอยู่กะเค้านิดหน่อยครับ
ความคิดเห็นที่ 44
ผู้แสดงความคิดเห็น :
fat9998
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 22 มี.ค. 56 - 22:01:50


ฝากสายตรงช่วยดูหน่อยครับ
ความคิดเห็นที่ 45
ผู้แสดงความคิดเห็น :
fat9998
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 22 มี.ค. 56 - 22:02:30


ใช้เนื้อนวะไหมครับ

ท่านต้องสมัครสมาชิกก่อนถึงจะมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นในกระดานนี้ได้


สมัครสมาชิกใหม่ คลิ๊กที่นี่ได้เลย ! ! ฟรี ! ! ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น