หัวข้อกระทู้ : พระพิมพ์พระสาม กรุบึงสามพัน เนื้อสีดอกพิกุล สวยคมชัดลึก หายากมากๆ พร้อมประวัติเพื่อการศึกษา
ผู้ตั้งกระทู้ : Rambo_Thaiตั้งกระทู้เมื่อ : 04 ก.ย. 56 - 10:56:25
รายละเอียด


พระพิมพ์พระสาม กรุบึงสามพัน เนื้อสีดอกพิกุล สวยคมชัดลึก หายากมากๆ พร้อมประวัติเพื่อการศึกษา ครับพระกรุ บึงสามพัน ที่พบจะเป็น พระพุทธชินราช ส่วนใหญ่ และพิมพ์ยืนและ พิมพ์พระสาม พบเป็นส่วนน้อยมาก พระกรุบึงสามพัน เป็นพระกรุเก่าที่รู้จักกันมาเนิ่นนานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการพระเครื่อง ชื่อเสียงเรียงนามด้วยความคงกระพันชาตรีนั้นกระฉ่อนมานานเต็มที่ ถ้าจะเปรียบเป็นนักเลงแล้วก็หาตัวเทียบยาก บารมีแผ่กว้างไปไกลหลาย ๆ บางทีเดียว นักเลงหน้าใหม่กระจอกงอกง่อย อือฮือไม่ขึ้น ยากที่ใครจะดับรัศมีลงได้ นักสะสมพระเครื่องรุ่นเก่ารู้จักพระกรุนี้ดี นักสะสมรุ่นใหม่ก็ไม่ควรจะมองข้ามความสำคัญของพระกรุนี้ไปเสีย และถ้าหากใครก็ตามที่ได้ทุ่มตัวเข้าสู่วงการพระเครื่องแล้ว และไม่รู้จักพิมพ์นี้ก็เห็นทีจะต้องใช้เวลาอีกมาก กว่าจะเดินยืดอกอย่างสง่าผ่าเผยในสนามได้ ผู้เขียนเองเคยได้สนทนากับนักเลงพระอาวุโสผู้หนึ่งถึงเรื่องพุทธานุภาพของพระกรุนี้คุณลุงผู้นั้นกล่าวยืนยันเต็มปากเต็มคำว่า \"เรื่องหนังเหนียวละก็ยกให้บึงสามพันเขาไป พระกรุอื่นที่ว่าเหนียว ๆ นั้น ลองเอามายืนซัดกันสักตั้งปะไร ดูทีว่าใครจะแน่กว่ากัน\" ก็เห็นจะไม่เป็นที่สงสัยละว่าทำไมคนเก่าคนแก่จึงยกย่องพระกรุนี้กันนัก ท่านผู้อ่านอาจจะข้องใจว่า เอ! เมื่อพระกรุนี้ดังจริง แน่จริง ทำไมไม่มีใครเขาเอามาแขวนกันให้ดาษดื่นกันละ? ในข้อนี้ถ้าท่านรู้จักพระพิมพ์นี้จริงก็เห็นจะหาคำตอบไม่ได้ยากนัก เพราะความนิยมในการพก, ห้อย, หรือแขวนพระเครื่องติดตัวนั้นย่อมขึ้นอยู่กับขนาดขององค์พระความงดงามในพุทธศิลป์และน้ำหนักเป็นประการสำคัญ ส่วนพุทธคุณนั้นแม้จะเป็นแกนกลางในการพิจารณาก็ตามแต่ปัจจัยต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาแล้วย่อมมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ใช้อยู่มาก เมื่อพระบึงสามพันมีขนาดค่อนข้างเขื่อง แม้จะมีชื่อเสียงมากก็ตามความนิยมในการพกพาก็ย่อมลดลงเป็นธรรมดา นอกเสียจากผู้นิยมที่ศรัทธาแรงกล้าจริง ๆ และเขาก็จะไม่ยอมปลดออกจากคอเช่นกัน ได้มีปรมาจารย์พระเครื่องหลายท่านได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับพระกรุนี้ไว้และระบุว่าพระบึงสามพัน เป็นพระเครื่องของจังหวัดสุพรรณบุรีก็ไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรไว้อีก ทั้งที่ผู้เขียนทราบดีว่า พระพิมพ์นี้เป็นพระเครื่องของเมืองพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ แต่ก็ต้องพิจารณาหาหลักฐานกันก่อนว่าทำไมจึงมีผู้ระบุไว้เช่นนั้นผู้เขียนได้พยายามศึกษาหนังสือเกี่ยวกับพระกรุต่าง ๆ ของจังหวัดสุพรรณบุรี ก็ไม่มีผู้ใดเขียนยืนยันไว้ ฉะนั้นความเข้าใจในเรื่องแหล่งต้นกำเนิดของพระพิมพ์นี้ อาจคลาดเคลื่อนก็เป็นได้ ทำไมพระพิมพ์นี้จึงมีชื่อว่า บึงสามพัน นี่ก็เป็นปัญหาที่จะต้องศึกษา ตามความเข้าใจโดยทั่วไปนั้นพระกรุเก่าที่ไม่มีผู้ใดทราบประวัติความเป็นมานั้น เมื่อถูกขุดค้นพบ ณ ที่ใดก็มักจะขนานนาม สถานที่หรือชื่อของบริเวณนั้น ๆ แทนชื่อพระ พระบึงสามพันก็อาจถูกขนานนามตามนัยดังกล่าวนี้เช่นกัน แต่เราต้องมาพิจารณาดูอีกว่า บึงสามพันนี้เป็นชื่อหนึ่งชื่อใดของสถานที่ใดในเขตจังหวัดสุพรรณบุรีหรือเปล่า ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่า คงไม่มีสถานที่ใดชื่อเช่นนี้แน่ จะมีก็แต่ชื่อแม่น้ำเก่าในประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่ความคล้ายคลึงจะถือว่าเป็นข้อยุติว่า เหมือนกันนั้นไม่ได้ อาจจะเป็นคนละเรื่องคนละราวไปเลยก็ได้ และถ้าสถานที่นี้ไม่มีในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี ชื่อ บึงสามพัน ก็เป็นอำเภอ หนึ่งของจังหวัดเพชบูรณ์ แต่ไม่ปรากฏว่า มีพระกรุพระพิมพ์ชินราช เหมือนแบบ อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์แต่อย่างใด และไม่มีใครสามารถยืนยันการขุดค้นพบได้ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ก็น่าจะเป็นข้อยุติได้ว่าพระพิมพ์นี้มิใช่พระเครื่องของจังหวัดสุพรรณบุรี และ จังหวัดเพชบูรณ์ อย่างแน่นอน เท่าที่ทราบพระเครื่องพิมพ์นี้ ได้ถูกขุดพบในเขตอำเภอพิชัยก่อน และเป็นเวลานานมาแล้ว เนื้อพระส่วนใหญ่เป็นเนื้อกระเบื้องสีแดง มีความแกร่งมาก ด้านหลังขององค์พระมักจะแบนราบ เป็นส่วนใหญ่ และหลังอูม นูน มีบ้างแต่น้อย และมีรอยลายมือกดตอนพิมพ์พระปรากฏอยู่ ส่วนที่ปรากฏเป็นรอยกาบหมากหรือรอยตอกกดประทับลึกเป็นร่องนั้นมีน้อย อย่างไรก็ตาม ประวัติการขุดค้นพระบึงสามพันที่อำเภอพิชัยนี้ ผู้เขียนขอรับว่าไม่ทราบรายละเอียดเท่าที่ควร เพราะไม่มีโอกาสได้เดินทางไปศึกษากับผู้รู้ในท้องถิ่น แต่ก็เป็นที่ยืนยันได้แน่ชัดว่า พระพิมพ์กรุนี้ วงการพระเครื่องรู้จักมาไม่ต่ำกว่า 50-60 ปีแล้ว ประมาณปี พ.ศ. 2498 ก็ได้มีชาวบ้านขุดพบพระเครื่องพิมพ์นี้อีก ตามประวัตินั้นชาวบ้านเป็นผู้ขุดพบโดยได้รับคำบอกเล่าตามความฝัน การขุดพบครั้งนี้นับว่าได้พระเป็นจำนวนมาก ประมาณกันว่ามีมาก ถึง 2 โอ่งแดงใหญ่ ปริมาณก็คงจะมีจำนวนนับหมื่น พระกรุ บึงสามพัน ที่ขุดพบจะเป็น พระพุทธชินราช ส่วนใหญ่ และพิมพ์ยืนและ พิมพ์พระสาม พบเป็นส่วนน้อยมาก และเหตุการณ์ที่คนทั่วไปจำได้แน่นอนก็คือ ผู้ขุดได้นำพระเครื่องกรุนี้ใส่บุ้งกี๋มาเร่ขายที่สถานีรถไฟพิชัย ในราคาองค์ละ 5 บาท ใครสนใจมาเลือกได้ตามใจชอบ เนื้อพระที่ถูกพบครั้งหลังนี้เป็นของวัดพญาแมน ในเขตบ้านโคน อำเภอพิชัย เนื้อพระมีหลายประเภท ส่วนใหญ่เป็นเนื้อดินเผาผสมว่าน ลักษณะองค์พระส่วนใหญ่จะหนาด้านหลังจะอูมเป็นหลังเต่า หลังแบนราบเรียบเป็นส่วนน้อย เนื้อพระกรุนี้ค่อนข้างจะหยาบและยุ่ย ไม่แข็งแกร่งเหมือนกรุในเขตอำเภอพิชัย พระบึงสามพันนี้มีหลายขนาดและหลายพิมพ์ ส่วนใหญ่จะเป็นพระปางมารวิชัย ประทับนั่งบนบัวคว่ำบัวหงายภายในซุ้มเส้นรอบองค์ ลักษณะบัวนั้นโดยทั่วไปเรียกบัวก้างปลา สำหรับเส้นซุ้มนั้นน่าจะถอดเค้ามาจากซุ้มเรือนละม้ายกับองค์หลวงพ่อพุทธชินราชมาก แต่ก็มีอิทธิพลของศิลปยุคอู่ทองผสมอยู่ด้วย คือพระพาหาอ่อนช้อย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประการหนึ่งของพระเครื่องในยุคนี้ ชาวบ้านโดยทั่วไปเชื่อว่า พระบึงสามพันนี้ก็คือพระพุทธชินราชนั่นเอง โดยผู้สร้างได้ประยุกต์เอาศิลปในยุคต่อ ๆ มาผนวกเข้าไว้ เป็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งว่า พระเครื่องต่าง ๆ ที่มีเส้นคู่ปรากฏอยู่ด้วยกัน มักจะอยู่ทางพิษณุโลก และบริเวณใกล้เคียงเป็นส่วนมาก ทำนองประยุกต์ให้เข้ากันแบบอย่างของหลวงพ่อพุทธชินราชก็เป็นได้ ตัวอย่างเช่น พระซุ้มเส้นคู่ กรุวัดพระพุทธชินราช กรุบึงสามพัน เนื้อแดงสีทับทิม สวยคมชัดลึก ใบประกาศที่ 3 ที่อุตรดิตถ์ พร้อมประวัติเพื่อการศึกษา ครับ พระพุทธชินราช บึงสามพัน เป็นพระกรุเก่าที่รู้จักกันมาเนิ่นนานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการพระเครื่อง ชื่อเสียงเรียงนามด้วยความคงกระพันชาตรีนั้นกระฉ่อนมานานเต็มที่ ถ้าจะเปรียบเป็นนักเลงแล้วก็หาตัวเทียบยาก บารมีแผ่กว้างไปไกลหลาย ๆ บางทีเดียว นักเลงหน้าใหม่กระจอกงอกง่อย อือฮือไม่ขึ้น ยากที่ใครจะดับรัศมีลงได้ นักสะสมพระเครื่องรุ่นเก่ารู้จักพระกรุนี้ดี นักสะสมรุ่นใหม่ก็ไม่ควรจะมองข้ามความสำคัญของพระกรุนี้ไปเสีย และถ้าหากใครก็ตามที่ได้ทุ่มตัวเข้าสู่วงการพระเครื่องแล้ว และไม่รู้จักพิมพ์นี้ก็เห็นทีจะต้องใช้เวลาอีกมาก กว่าจะเดินยืดอกอย่างสง่าผ่าเผยในสนามได้ ผู้เขียนเองเคยได้สนทนากับนักเลงพระอาวุโสผู้หนึ่งถึงเรื่องพุทธานุภาพของพระกรุนี้คุณลุงผู้นั้นกล่าวยืนยันเต็มปากเต็มคำว่า \"เรื่องหนังเหนียวละก็ยกให้บึงสามพันเขาไป พระกรุอื่นที่ว่าเหนียว ๆ นั้น ลองเอามายืนซัดกันสักตั้งปะไร ดูทีว่าใครจะแน่กว่ากัน\" ก็เห็นจะไม่เป็นที่สงสัยละว่าทำไมคนเก่าคนแก่จึงยกย่องพระกรุนี้กันนัก ท่านผู้อ่านอาจจะข้องใจว่า เอ! เมื่อพระกรุนี้ดังจริง แน่จริง ทำไมไม่มีใครเขาเอามาแขวนกันให้ดาษดื่นกันละ? ในข้อนี้ถ้าท่านรู้จักพระพิมพ์นี้จริงก็เห็นจะหาคำตอบไม่ได้ยากนัก เพราะความนิยมในการพก, ห้อย, หรือแขวนพระเครื่องติดตัวนั้นย่อมขึ้นอยู่กับขนาดขององค์พระความงดงามในพุทธศิลป์และน้ำหนักเป็นประการสำคัญ ส่วนพุทธคุณนั้นแม้จะเป็นแกนกลางในการพิจารณาก็ตามแต่ปัจจัยต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาแล้วย่อมมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ใช้อยู่มาก เมื่อพระบึงสามพันมีขนาดค่อนข้างเขื่อง แม้จะมีชื่อเสียงมากก็ตามความนิยมในการพกพาก็ย่อมลดลงเป็นธรรมดา นอกเสียจากผู้นิยมที่ศรัทธาแรงกล้าจริง ๆ และเขาก็จะไม่ยอมปลดออกจากคอเช่นกัน ได้มีปรมาจารย์พระเครื่องหลายท่านได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับพระกรุนี้ไว้และระบุว่าพระบึงสามพันเป็นพระเครื่องของจังหวัดสุพรรณบุรีก็ไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรไว้อีก ทั้งที่ผู้เขียนทราบดีว่า พระพิมพ์นี้เป็นพระเครื่องของเมืองพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ แต่ก็ต้องพิจารณาหาหลักฐานกันก่อนว่าทำไมจึงมีผู้ระบุไว้เช่นนั้นผู้เขียนได้พยายามศึกษาหนังสือเกี่ยวกับพระกรุต่าง ๆ ของจังหวัดสุพรรณบุรี ก็ไม่มีผู้ใดเขียนยืนยันไว้ ฉะนั้นความเข้าใจในเรื่องแหล่งต้นกำเนิดของพระพิมพ์นี้อาจคลาดเคลื่อนก็เป็นได้ ทำไมพระพิมพ์นี้จึงมีชื่อว่า บึงสามพัน นี่ก็เป็นปัญหาที่จะต้องศึกษา ตามความเข้าใจโดยทั่วไปนั้นพระกรุเก่าที่ไม่มีผู้ใดทราบประวัติความเป็นมานั้น เมื่อถูกขุดค้นพบ ณ ที่ใดก็มักจะขนานนาม สถานที่หรือชื่อของบริเวณนั้น ๆ แทนชื่อพระ พระบึงสามพันก็อาจถูกขนานนามตามนัยดังกล่าวนี้เช่นกัน แต่เราต้องมาพิจารณาดูอีกว่า บึงสามพันนี้เป็นชื่อหนึ่งชื่อใดของสถานที่ใดในเขตจังหวัดสุพรรณบุรีหรือเปล่า ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่า คงไม่มีสถานที่ใดชื่อเช่นนี้แน่ จะมีก็แต่ชื่อแม่น้ำเก่าในประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่ความคล้ายคลึงจะถือว่าเป็นข้อยุติว่า เหมือนกันนั้นไม่ได้ อาจจะเป็นคนละเรื่องคนละราวไปเลยก็ได้ และถ้าสถานที่นี้ไม่มีในเขตจังหวัดสุพรรณบุรีและไม่มีใครสามารถยืนยันการขุดค้นพบได้ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ก็น่าจะเป็นข้อยุติได้ว่าพระพิมพ์นี้มิใช่พระเครื่องของจังหวัดสุพรรณบุรีอย่างแน่นอน เท่าที่ทราบพระเครื่องพิมพ์นี้ ได้ถูกขุดพบในเขตอำเภอพิชัยก่อน และเป็นเวลานานมาแล้ว เนื้อพระส่วนใหญ่เป็นเนื้อกระเบื้องสีแดง มีความแกร่งมาก ด้านหลังขององค์พระมักจะแบนราบและมีรอยลายมือกดตอนพิมพ์พระปรากฏอยู่ ส่วนที่ปรากฏเป็นรอยกาบหมากหรือรอยตอกกดประทับลึกเป็นร่องนั้นมีน้อย อย่างไรก็ตาม ประวัติการขุดค้นพระบึงสามพันที่อำเภอพิชัยนี้ ผู้เขียนขอรับว่าไม่ทราบรายละเอียดเท่าที่ควร เพราะไม่มีโอกาสได้เดินทางไปศึกษากับผู้รู้ในท้องถิ่น แต่ก็เป็นที่ยืนยันได้แน่ชัดว่า พระพิมพ์กรุนี้ วงการพระเครื่องรู้จักมาไม่ต่ำกว่า 50-60 ปีแล้ว ประมาณปี พ.ศ. 2498 ก็ได้มีชาวบ้านขุดพบพระเครื่องพิมพ์นี้อีก ตามประวัตินั้นชาวบ้านเป็นผู้ขุดพบโดยได้รับคำบอกเล่าตามความฝัน การขุดพบครั้งนี้นับว่าได้พระเป็นจำนวนมาก ประมาณกันว่ามีมากถึง 2 โอ่งแดงใหญ่ ปริมาณก็คงจะมีจำนวนนับหมื่น และเหตุการณ์ที่คนทั่วไปจำได้แน่นอนก็คือ ผู้ขุดได้นำพระเครื่องกรุนี้ใส่บุ้งกี๋มาเร่ขายที่สถานีรถไฟพิชัย ในราคาองค์ละ 5 บาท ใครสนใจมาเลือกได้ตามใจชอบ เนื้อพระที่ถูกพบครั้งหลังนี้เป็นของวัดพญาแมน ในเขตบ้านโคน อำเภอพิชัย เนื้อพระมีหลายประเภท ส่วนใหญ่เป็นเนื้อดินเผาผสมว่าน ลักษณะองค์พระจะหนาด้านหลังจะอูมเป็นหลังเต่า เนื้อพระกรุนี้ค่อนข้างจะหยาบและยุ่ย ไม่แข็งแกร่งเหมือนกรุในเขตอำเภอพิชัย พระบึงสามพันนี้มีหลายขนาดและหลายพิมพ์ ส่วนใหญ่จะเป็นพระปางมารวิชัย ประทับนั่งบนบัวคว่ำบัวหงายภายในซุ้มเส้นรอบองค์ ลักษณะบัวนั้นโดยทั่วไปเรียกบัวก้างปลา สำหรับเส้นซุ้มนั้นน่าจะถอดเค้ามาจากซุ้มเรือนละม้ายกับองค์หลวงพ่อพุทธชินราชมาก แต่ก็มีอิทธิพลของศิลปยุคอู่ทองผสมอยู่ด้วย คือพระพาหาอ่อนช้อย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประการหนึ่งของพระเครื่องในยุคนี้ ชาวบ้านโดยทั่วไปเชื่อว่า พระบึงสามพันนี้ก็คือพระพุทธชินราชนั่นเอง โดยผู้สร้างได้ประยุกต์เอาศิลปในยุคต่อ ๆ มาผนวกเข้าไว้ เป็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งว่า พระเครื่องต่าง ๆ ที่มีเส้นคู่ปรากฏอยู่ด้วยกัน มักจะอยู่ทางพิษณุโลก และบริเวณใกล้เคียงเป็นส่วนมาก ทำนองประยุกต์ให้เข้ากันแบบอย่างของหลวงพ่อพุทธชินราชก็เป็นได้ ตัวอย่างเช่น พระซุ้มเส้นคู่ กรุวัดโพธิ์ฯ (โรงทอฯ) พระเครื่องบางพิมพ์จากกรุวัดเขาสมอแครง เหล่านี้เป็นต้น ขอให้ท่านผู้อ่านโปรดเข้าใจอีกประการหนึ่งว่า พระบึงสามพันนี้มิได้มีเฉพาะพิมพ์บนฐานบัวในซุ้มเส้นคู่เท่านั้น แต่ยังมีพิมพ์อื่น ๆ รวมอยู่ด้วย เช่น ปางลีลาเนื้อดินเผา และนางสามพี่น้องเนื้อดินเผา แต่พระปางลีลานั้นคนนิยมกันมากและออกจะหายากกว่าพิมพ์อื่น ๆ พระสามพี่น้องนั้นมิได้ถูกพบที่กรุนี้กรุเดียว ในเขตจังหวัดพิษณุโลก กำแพงเพชร และสุโขทัยก็มีการขุดพบด้วยเหมือนกัน แต่พระนางสามพี่น้องของกรุวัดพญาแมนนี้ โดยส่วนใหญ่แล้วเนื้อพระจะละเอียดมีความหนาและแกร่ง มีทั้งสีแดง และสีกลีบจำปา ไม่เหมือนกับเนื้อพระบึงสามพัน และพิมพ์ปางลีลาโดยทั่วไป ฉะนั้นถ้าท่านผู้อ่านพบพระพิมพ์นางสามพี่น้องที่ใดก็ขอได้โปรดพิจารณาความหนาขององค์พระด้วย ถ้าองค์บาง ๆ ละก็คงจะเป็นพระของกรุอื่นแน่ เพราะพระพิมพ์กรุนี้องค์หนา 1-2 ซม. ทีเดียว พุทธานุภาพของพระเครื่องกรุนี้นั้น น่าทึ่งมากมาตั้งแต่สมัยที่พระกรุนี้ขุดขึ้นใหม่ ๆ พระบึงสามพันเป็นพระกรุที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งกรุหนึ่ง นักสะสมพระเครื่องรุ่นใหม่ ๆ ก็คงพอจะเสาะหาไว้ใช้ได้ไม่ยาก สนนราคาก็ไม่แพงเลย ส่วนพุทธาคุณนั้นโด่งดังเหลือหลาย โดยเฉพาะในด้านคงกระพันชาตรี ปรากฏการณ์ต่างๆ มีมามากแล้ว ผู้ที่อยู่ในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก และสุโขทัย ย่อมตระหนักดีในเรื่องพุทธคุณ ด้านเหนียว คงกะพันชาตรี ของพระกรุนี้ เป็นอย่างดี ทีเดียว พบเห็นที่ไหน เก็บไว้เถอะ ท่านมีแต่ได้กับได้ พระแท้พระเก๊ก็แยกแยะง่าย อีกทั้งราคาค่านิยมเรา ๆ ท่านๆ ยังพอหาเช่าได้โดย ราคา ไม่หนักใจ และ พระกรุองค์ใหญ่ๆ ปัจจุบัน มี ความนิยม ขึ้นคอกันมาขึ้น ตั้งแต่กระแสความนิยมของ พระจตุคามรามเทพ ซาลง ครับ
(หมายเหตุ พระบึงสามพัน กรุบึงสามพัน และกรุวัดพญาแมน แบ่งแยกกัน ง่ายมากๆ คือดูเนื้อดินเผา ถ้า เนื้อดินเผาที่เผาได้อุณหภูมิที่สูงๆ เนื้อพระจะแกร่ง มีหลากหลายสีเช่น สีหม้อใหม่ สีดอกพิกุล สีแดงสดทับทิม สีเขียวหินมีดโกนคราบเหลือง(เนื้อนี้ จะหายากมากๆ) สีผ่าน และ สีดำ เป็นต้น จะเป็น พระกรุบึงสามพัน และ ถ้าเนื้อพระยุ่ยๆ สีออกแดงเหลือง จะเป็น กรุวัดพญาแมน และจะตัดสินด้วย หลักการที่ว่า พระหลัง นูน อูม แต่เนื้อดินเผาแกร่ง จะต้องเป็นพระกรุวัดพญาแมน นั้นไม่ได้ เพราะพระกรุบึงสามพัน หลังนูน อูมก็มี แต่มีเป็นส่วยน้อยกว่า หลังแบนราบครับ)

ความคิดเห็นที่ 1
ผู้แสดงความคิดเห็น :
Rambo_Thai
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 04 ก.ย. 56 - 10:57:46


เนื้อสีดอกพิกุล แน่นแกร่ง ด้านหลัง ครับ
ความคิดเห็นที่ 2
ผู้แสดงความคิดเห็น :
ADISORN
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 04 ก.ย. 56 - 11:19:24

สุดยอดเลยคับเก่าจริงคับ
ความคิดเห็นที่ 3
ผู้แสดงความคิดเห็น :
Rambo_Thai
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 04 ก.ย. 56 - 13:18:29

ขอเพิ่มเติม อีกนิด หนึ่งครับ สาเหตุที่พระบึงสามพัน กรุวัดพญาแมน เนื้อพระยุ่ย ๆ ฟูๆ สีออกแดงเหลือง ก็เป็นเพราะ เป็นพระเนื้อดินเผาที่ ผสมแก่ว่านมาก จึงทำให้เนื้อว่านที่ผสมดินเหนียว พอเผาที่อุณหภูมิสูงๆ ไปแล้ว ส่วนที่เป็น เนื้อว่าน ที่ผิวพระ จะถูกความร้อนเผาจนเป็น ผงเถ้าถ่าน จึงทำให้ พระบึงสามพัน กรุวัดพญาแมน เนื้อพระยุ่ย ๆ ฟู ๆ ครับแต่พระพุทธคุณ สุดยอดคงกะพัน เหมือนกัน ไม่ต่างกันเลยครับ
ความคิดเห็นที่ 4
ผู้แสดงความคิดเห็น :
markmee
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 17 ก.ย. 56 - 09:52:21

สวยดีครับ ต้องติดซักรางวัล.....
ความคิดเห็นที่ 5
ผู้แสดงความคิดเห็น :
joooooo7
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 23 ก.ย. 56 - 23:03:16

สุดยอดจริงๆๆ...พิมพ์พระนางสาม..ไม่ค่อยได้เห็น

ท่านต้องสมัครสมาชิกก่อนถึงจะมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นในกระดานนี้ได้


สมัครสมาชิกใหม่ คลิ๊กที่นี่ได้เลย ! ! ฟรี ! ! ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น