หัวข้อกระทู้ : เชิญชมรูปเก่าแก่ และประวัติ พระแท่นศิลาอาส์ ปูชนียวัตถุ ศักดิ์สิทธิ์โบราณสถาน จังหวัดอุตรดิตถ์ ของเรา
ผู้ตั้งกระทู้ : Rambo_Thaiตั้งกระทู้เมื่อ : 08 พ.ย. 53 - 08:23:04
รายละเอียด


ในวันเพ็ญเดือนสาม ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา งานเทศกาล จะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น ๘ ค่ำ ไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ พระภิกษุสงฆ์จะเข้าไปในพระวิหาร แล้วสวดพระพุทธมนต์ พระธรรมจักรกัปปวัตนสูตร ตอนเช้าพระภิกษุสงฆ์ก็จะออกบิณฑบาตรตามหมู่บ้าน และบรรดาชาวบ้านก็จะนำอาหารมาถวายที่วัดอีกเป็นจำนวนมาก เมื่อพระภิกษุสงฆ์ฉันเสร็จ ชาวบ้านก็จะแบ่งปันอาหารรับประทานกันทั่วหน้า รวมทั้งผู้ที่เดินทางมานมัสการ พระแท่นศิลาอาสน์ ด้วย เป็นการทำบุญกลางแจ้งที่ยิ่งใหญ ่เป็นประจำทุกๆปี
ในบริเวณใกล้เคียงกันก็จะเป็น องค์อนุสรณ์ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมา ณ. ที่บริเวณนี้ได้ วัดพระยืน พุทธบาทยุคล วัดพระนอน และพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ทำให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะบูชาพระพุทธเจดีย์ดังกล่าวทั้งหมดได้ในโอกาสเดียวกัน
วัดพระแท่นศิลาอาสน์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 บ้านพระแท่น ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ไปตามทางหลวงหมายเลข 102 ประมาณ 500 เมตร วัดอยู่ทางซ้ายมือ ของถนนใกล้ทางแยก ต่อมาปี พ.ศ. 2451ไฟป่าได้ไหม้มณฑปและวิหารเหลือแต่แท่นสิลาแลง ต่อมารัชกาลที่ 5 ได้ทรงโปรดเกล้าให้ปฎิสังขรณ์ใหม่ บานประตูของวัดพระแท่นศิลาอาสน์เป็นไม้สักแกะสลักนั้น เดิมเคยเป็นบานประตูของวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลกมาก่อน สำหรับงานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์จะเริ่มงานในวันขึ้น 8 ค่ำ ถึงวันขึ้น15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี มาตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว วัดพระแท่นศิลาอาสน์ นี่ก็เป็นโบราญสถาณ อันศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมือง ของบ้านเรา มาตั้งแต่สมัย โบราญกาล มาแล้ว นี่ก็ เป็น อีกหนึ่งใน ความภาคภูมิใจ ของชาวเมืองอุตรดิตถ์ ในโบราญสถาณอันศักดิ์สิทธิ์ ของจังหวัดอุตรดิตถ์ บ้านเรา ถึงแม้ จังหวัดอุตรดิตถ์ จะเป็น จังหวัด เล็กๆ จังหวัดหนึ่ง แต่เรามีของดี คู่บ้านคู่เมืองมากมาย หลายๆอย่าง ด้วยกัน และในโอกาสนี้ี่ ผม ก็ ขอโชว์
รูปซีเปีย พระแท่นศิลาอาสน์ เก่า มาก มีคราบปรอทกระจายทั่วๆไป กรอบเก่าเดิมผุพังตาม กาลเวลาไปหมดแล้ว รูปซีเปีย มีคราบปรอท ลักษณะ แบบนี้ ประเมินอายุไม่น่าจะต่ำกว่า 60 ปีขึ้นไป หรืออาจจะไม่แน่ ถ้าลึกกว่านั้น่ อาจจะเป็นรูปฟิล์มเดียวกับ ที่ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชาณุภาพ ทรงได้ถ่ายไว้ เมื่อพ.ศ.2441 ตอนที่พระองค์ท่านได้มากราบนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ ตรวจราชการเมืองอุตรดิตถ์ ก็เป็นได้
ฝากให้ชมกันครับ ออกความคิดเห็นกันได้เต็มที่เลย ครับ

ความคิดเห็นที่ 1
ผู้แสดงความคิดเห็น :
Rambo_Thai
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 08 พ.ย. 53 - 08:24:38


พระแท่นศิลาอาสน์ เก่า มาก มีคราบปรอทกระจายทั่วๆไป กรอบเก่าเดิมผุพังตาม กาลเวลาไปหมดแล้ว
ความคิดเห็นที่ 2
ผู้แสดงความคิดเห็น :
Rambo_Thai
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 08 พ.ย. 53 - 08:24:53


ความคิดเห็นที่ 3
ผู้แสดงความคิดเห็น :
Rambo_Thai
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 08 พ.ย. 53 - 08:25:13


ความคิดเห็นที่ 4
ผู้แสดงความคิดเห็น :
Rambo_Thai
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 08 พ.ย. 53 - 08:33:41


v
ความคิดเห็นที่ 5
ผู้แสดงความคิดเห็น :
Rambo_Thai
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 08 พ.ย. 53 - 08:35:53


x
ความคิดเห็นที่ 6
ผู้แสดงความคิดเห็น :
Rambo_Thai
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 08 พ.ย. 53 - 08:36:37


x
ความคิดเห็นที่ 7
ผู้แสดงความคิดเห็น :
Rambo_Thai
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 08 พ.ย. 53 - 08:37:00


x
ความคิดเห็นที่ 8
ผู้แสดงความคิดเห็น :
webmaster
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 08 พ.ย. 53 - 09:27:34

ยอดเยี่ยมครับพี่ มาสร้างสรรค์สิ่งดีๆให้กับเว็ปบ่อยๆนะครับพี่อย่าหายไปนานครับ
ความคิดเห็นที่ 9
ผู้แสดงความคิดเห็น :
Rambo_Thai
แสดงความคิดเห็นเมื่อ: 08 พ.ย. 53 - 09:59:22

สวัสดี คุณปุ้ย
ข้อมูล ไม่ครบ หายไปบางส่วน ขอลงใหม่ ครับ....

วันมาฆบูชา ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันสำคัญ อีกวันหนึ่งทางพระพุทธศาสนา และถือกันว่าเป็น วันที่รอคอยการทำบุญใหญ่ สำหรับผู้ที่มีความเลื่อมใสศรัทธาในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นการน้อมรำลึก ถึงวันที่พระพุทธองค ์ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ต่อหน้าพระอัครสาวก และพระสงฆ์สาวกรวม 1,250 รูป ล้วนเป็น พระอรหันต์ที่เดินทางมาเข้าเฝ้า ณ เวฬุวัน กรุงราชคฤห์ โดยมิได้มีการนัดหมายกันแต่อย่างใด ซึ่งโอวาทปาติโมกข์ที่ทรงแสดงในที่ประชุมสงฆ์ ครั้งนั้น เป็นทั้งหลักการและอุดมการณ์ และวิธีปฏิบัติ ที่นำมาใช้ได้ในทุกสังคม ทุกสมัย เพราะมีเนื้อหาโดยสรุป คือ ละเว้นความชั่ว สร้างกระทำความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส
เนื่องในวันสำคัญทางพุทธศาสนาดังกล่าว พุทธสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่ สำคัญ อย่าง เช่น วัดพระแท่นศิลาอาสน์ ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระแท่นศิลาแลง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างประมาณ 2.50 เมตร สูง 90 เซนติเมตร ยาว 5 เมตร โดยมีการสร้างมณฑปครอบไว้ภายในวิหารพระแท่นศิลาอาสน์อีกชั้นหนึ่ง แห่งนี้ มีตำนานกล่าวว่า เป็นพระแท่นที่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง 4 พระองค์ และ พระโพธิสัตว์ ซึ่งจะตรัสรู้ เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในภายหน้า อีก 1 พระองค์ ได้เสด็จมาตั้งสัตยาธิษฐานจำศีลบำเพ็ญพุทธบารมี และเมื่อได้สำเร็จเป็นพระสัมมาสัม พุทธเจ้าแล้ว 4 พระองค์มาประทับนั่ง จึงได้มีพุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใสศรัทธาหลั่งไหลกันมา บูชาพระแท่นศิลาแลง ทำบุญ ในวันเพ็ญมาฆบูชากันอย่างเนืองแน่นทุกๆปี จากทุกสารทิศ มีการสำรวจจากบัญชี การรับบริจาคเงิน ที่ประชาชนจากทุกสารทิศมาบริจาคทำบุญ ที่วัดพระแท่นศิลาอาสน์พบว่า ในแต่ละปี จะมีประชาชนทั่วทุกสารทิศ มานมัสการและทำบุญในช่วง การจัดงานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ จาก ทุกจังหวัด ต่างๆ ทั่วประเทศ หรือ แม้แต่ พี่น้องประชาชน ชาวลาว จาก ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ซึ่งเปรียบเหมือนญาติที่ใกล้ชิดกับคนไทยเป็นบ้านพี่เมืองน้องกันมาตั้งแต่โบราญกาล มาแล้ว ก็ยังเดินทางมากราบสักการะพระแท่นศิลาอาสน์ เช่นเดียวกับที่ชาวลาวทีเลื่อมใสศรัทธา พระธาตุ พนม จังหวัดนครพนม ซึ่งทุกๆคน ล้วน ต่างยึด มั่นถือมั่น ในคำกล่าวของบรรพบุรุษ บรรพชน ได้กล่าว ถึงอานิสงส์ ของการกราบสัการะ พระแท่นศิลาอาสน์ ครบ 3 ครั้ง แล้ว ได้ไปจุติสวรรค์ ห่างไกล จาก อบายภูมิ
งานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ มีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่มีใครทราบ น่าจะก่อนสมัยกรุงสุโขทัย หรือสมัยทราวดี แต่หลักฐานที่ปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า เมื่อ พ.ศ. 2283 สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ได้เสด็จมานมัสการและโปรดเกล้า ให้ปฏิสังขรณ์วิหารพระแท่นศิลาอาสน์ ให้มั่นคงแข็งแรงกว่าของเดิม ต่อมาปี พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก หลังจากเสด็จ ปราบปราม ตีชุมนุมพระฝางที่เมืองสวางคบุรีแตกแล้ว ได้เสด็จมาสมโภชฉลองชัยชนะ ที่วัดพระแท่นศิลาอาสน์ ถึง 3 วัน เฉกเช่นเดียวกัน กับ จากเอกสาร ประวัติ ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก ยอดวีรบุรุษของชาวไทย ได้ระบุว่า ก่อน ที่ท่านจะเป็นทหารเอก ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ท่านได้หัดวิชามวย กับครูเมฆ ที่ท่าเสา แล้วไปเปรียบมวยที่งาน วัดพระแท่นศิลาอาสน์ โดยชนะ นายถึก ศิษย์ ครูนิล ครูมวยชื่อดังของเมืองทุ่งยั้งได้อย่างสวยงาม มิหนำซ้ำ ยังเอาชนะ ครูนิล ได้อีกด้วย จึงกล่าวได้ว่า งาน นมัสการพระแท่นศิลาอาสน์จะต้องมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างต่ำ ตามการสันนิษฐานของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งเสด็จ มาในปี พ.ศ. 2441 และ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวถึง การค้นพบ พระคัมภีร์ พระคาถายอดพระกัณฑ์พระไตรปิฏก ต้นฉบับเดิม ซึ่งเป็นพระธรรมคัมภีร์ที่ เป็นหัวใจสำคัญ เป็นอย่างยิ่งทางพระพุทธศาสนาของเรา เปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลก เป็นอักษรขอมจารึกไว้ในใบลาน จึงได้แปลเป็นอักษรไทย
พระภิกษุแสง (หลวงธรรมาธิกรณ์) ได้มาแต่พระแท่นศิลาอาสน์ มณฑลพิษณุโลก แสดงว่า วัดพระแท่นศิลาอาสน์ สมัยก่อนนั้น ขึ้นอยู่กับเมืองสวรรคโลก และ ขึ้นกับ มณฑลพิษณุโลก เพราะตามประวัติศาสตรและหลักฐานการค้นพบ พระคัมภีร์ ระบุว่า “ตามหลักฐานการค้นพบ พระคัมภีร์ พระคาถายอดพระกัณฑ์พระไตรปิฏก ต้นฉบับเดิม เปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลก เป็นอักษรขอมจารึกไว้ในใบลานจึงได้แปลเป็นอักษรไทย
พระภิกษุแสง (หลวงธรรมาธิกรณ์) ได้มาแต่พระแท่นศิลาอาสน์ มณฑลพิษณุโลก” แสดงว่า วัดพระแท่นศิลาอาสน์ ในสมัยก่อนนั้น ขึ้นอยู่กับเมืองสวรรคโลก และขึ้นอยู่กับมณฑลพิษณุโลก ซึ่งเป็นมณฑลใหญ่ เมืองใหญที่สำคัญ ทางภาคเหนือ ดังนั้น จึงเป็นหลักฐาน ที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า “วัดพระแท่นศิลาอาสน์”เป็นแหล่งอารยะธรรมที่สำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา คือเป็นที่ประดิษฐานพระคัมภีร์ “พระคาถายอดพระกัณฑ์พระไตรปิฏก “ ต้นฉบับเดิม ที่เป็นภาษาขอม มาตั้งแต่โบราญกาลมาแล้ว ซึ่งยังไม่เคยปรากฏว่า พบพระคัมภีร์ พระคาถายอดพระกัณฑ์พระไตรปิฏก ซึ่งเป็นพระธรรมคัมภีร์ที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งทางพระพุทธศาสตร์ของเรา ที่ใด มาก่อนเลย ในประเทศไทย
มาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งเสด็จ มาตรวจราชการมลฑลฝ่ายเหนือ เมืองอุตรดิตถ์ และทรงมากราบสักการะนมัสการ พระแท่นศิลาอาสน์ และพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ในปี พ.ศ. 2441
และ สมเด็จพระปิยมหาราช รัชกาลที่ 5 ได้ทรงเสด็จประพาสต้นทางชลมาคร ล่องแม่น้ำน่าน เยือนมลฑลฝ่ายเหนือ เมืองอุตรดิตถ์ เมื่อ พ.ศ.2444 ทรงมากราบสักการะนมัสการ พระแท่นศิลาอาสน์ และพระบรมธาตุทุ่งยั้ง และต่อมา วัดพระแท่นศิลาอาสน์ มีความสำคัญมากขึ้น เมื่อสมเด็จพระสังฆราช และ พระราชาคณะ เสด็จมากราบสักการะนมัสการ พระแท่นศิลาอาสน์ และบูรณปฏิสังขรณ์ ถึง 8 พระองค์ ครั้งหลังสุด เมื่อปี พ.ศ. 2547 คือ สมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงกุโร) ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย ยก ฐานะวัดพระแท่นศิลาอาสน์ เป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2549 ตั้งแต่ บัดนั้น เป็นต้นมา
ในเขตตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดพระพุทธบาทยุคล ที่มีอาณาเขตติดต่อกัน เป็นที่เชื่อมาแต่โบราณกาลว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับนั่ง ณ แท่นศิลาแลง ซึ่งเรียกกันต่อมาว่า พระแท่นศิลาอาสน์ ตัวพระแท่นเป็นศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง ๘ ฟุต ยาว ๑๐ ฟุต สูง ๓ ฟุต มีมณฑปครอบอยู่ภายในพระวิหารตั้งอยู่บนเนินเขา
วัดพระแท่นศิลาอาสน์เป็นวัดโบราณ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าผู้ใดสร้าง และสร้างแต่เมื่อใด แต่จากการสันนิษฐานทางประวัติศาสตร์และทางโบราณคดี ก็น่าจะสร้าง สมัยกรุงสุโขทัย ขึ้นไป ถึงสมัยทราวดี
ประเพณีทำบุญไหว้พระแท่นศิลาอาสน์ ไม่ปรากฎหลักฐานว่ามีมาแต่เมื่อใด แต่ได้มีมานานหลายชั่วอายุคนแล้ว มีผู้คนมาสักการบูชาตามเทศกาล และนอกเทศกาล ด้วยมีความเชื่อว่าการได้มานมัสการพระแท่นศิลาอาสน์แล้ว จะได้รับอานิสงค์สูงสุด ด้วยเหตุนี้บรรดาผู้คนในเขตทางตอนเหนือ ที่อยู่ใกล้เคียงกับจังหวัดอุตรดิตถ์ จะพยายามดั้นด้นขวนขวายมานมัสการ พระแท่นศิลาอาสน์ให้ได้ครั้งหนึ่งในชีวิต
ในวันเพ็ญเดือนสาม ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา งานเทศกาล จะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น ๘ ค่ำ ไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ พระภิกษุสงฆ์จะเข้าไปในพระวิหาร แล้วสวดพระพุทธมนต์ พระธรรมจักรกัปปวัตนสูตร ตอนเช้าพระภิกษุสงฆ์ก็จะออกบิณฑบาตรตามหมู่บ้าน และบรรดาชาวบ้านก็จะนำอาหารมาถวายที่วัดอีกเป็นจำนวนมาก เมื่อพระภิกษุสงฆ์ฉันเสร็จ ชาวบ้านก็จะแบ่งปันอาหารรับประทานกันทั่วหน้า รวมทั้งผู้ที่เดินทางมานมัสการ พระแท่นศิลาอาสน์ ด้วย เป็นการทำบุญกลางแจ้งที่ยิ่งใหญ ่เป็นประจำทุกๆปี
ในบริเวณใกล้เคียงกันก็จะเป็น องค์อนุสรณ์ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมา ณ. ที่บริเวณนี้ได้ วัดพระยืน พุทธบาทยุคล วัดพระนอน และพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ทำให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะบูชาพระพุทธเจดีย์ดังกล่าวทั้งหมดได้ในโอกาสเดียวกัน
วัดพระแท่นศิลาอาสน์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 บ้านพระแท่น ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ไปตามทางหลวงหมายเลข 102 ประมาณ 500 เมตร วัดอยู่ทางซ้ายมือ ของถนนใกล้ทางแยก ต่อมาปี พ.ศ. 2451ไฟป่าได้ไหม้มณฑปและวิหารเหลือแต่แท่นสิลาแลง ต่อมารัชกาลที่ 5 ได้ทรงโปรดเกล้าให้ปฎิสังขรณ์ใหม่ บานประตูของวัดพระแท่นศิลาอาสน์เป็นไม้สักแกะสลักนั้น เดิมเคยเป็นบานประตูของวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลกมาก่อน สำหรับงานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์จะเริ่มงานในวันขึ้น 8 ค่ำ ถึงวันขึ้น15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี มาตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว วัดพระแท่นศิลาอาสน์ นี่ก็เป็นโบราญสถาณ อันศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมือง ของบ้านเรา มาตั้งแต่สมัย โบราญกาล มาแล้ว นี่ก็ เป็น อีกหนึ่งใน ความภาคภูมิใจ ของชาวเมืองอุตรดิตถ์ ในโบราญสถาณอันศักดิ์สิทธิ์ ของจังหวัดอุตรดิตถ์ บ้านเรา ถึงแม้ จังหวัดอุตรดิตถ์ จะเป็น จังหวัด เล็กๆ จังหวัดหนึ่ง แต่เรามีของดี คู่บ้านคู่เมืองมากมาย หลายๆอย่าง ด้วยกัน และในโอกาสนี้ี่ ผม ก็ ขอโชว์
รูปซีเปีย พระแท่นศิลาอาสน์ เก่า มาก มีคราบปรอทกระจายทั่วๆไป กรอบเก่าเดิมผุพังตาม กาลเวลาไปหมดแล้ว รูปซีเปีย มีคราบปรอท ลักษณะ แบบนี้ ประเมินอายุไม่น่าจะต่ำกว่า 60 ปีขึ้นไป หรืออาจจะไม่แน่ ถ้าลึกกว่านั้น่ อาจจะเป็นรูปฟิล์มเดียวกับ ที่ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชาณุภาพ ทรงได้ถ่ายไว้ เมื่อพ.ศ.2441 ตอนที่พระองค์ท่านได้มากราบนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ ตรวจราชการเมืองอุตรดิตถ์ ก็เป็นได้
60 ปี ขึ้นไป ฝากให้ชมกันครับ ออกความคิดเห็นกันได้เต็มที่เลย ครับ

ท่านต้องสมัครสมาชิกก่อนถึงจะมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นในกระดานนี้ได้


สมัครสมาชิกใหม่ คลิ๊กที่นี่ได้เลย ! ! ฟรี ! ! ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น